Last updated: 2 Jul 2024 | 330 Views |
หลายปีมานี้ทุกคนคงได้ข่าวคราว ชะตากรรมของสัตว์ทะเลไทย กลายเป็นเหยื่อ “ขยะพลาสติก” ไม่ว่าจะเป็น โลมา วาฬ เต่าทะเล ที่มีต้นตอการเสียชีวิตมาจาก ถุงพลาสติก แผ่นห่อพลาสติก เศษโฟม หลอดพลาสติก หรือแม้กระทั่งแพคเกจจิ้งจากขยะพลาสติก
โดยที่ขยะเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในท้องของพวกเขาจนไปอุดตัน ทำให้ว่ายน้ำได้ลำบาก และไปชนกับเรือประมง หรือเข้าไปอยู่ในท้องจนทำให้ทั้งน้องสัตว์เหล่านี้ป่วย เกยตื้นและเสียชีวิตในที่สุด
3 กรกฎาคม วันปลอดถุงพลาสติกสากล
ดังนั้นเนื่องในวันปลอดถุงพลาสติกสากล (International Plastic Bag Free Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 3 กรกฎาคมของทุกปี นับเป็นวันสำคัญที่มีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นความตระหนักรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (single-use plastic) โดยเฉพาะถุงพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง
เนื่องจากข้อมูลพบว่าทุกๆ ปี จะมีการผลิตพลาสติกกว่า 300 ล้านตันทั่วโลกเพื่อนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และในจำนวนนี้มีขยะพลาสติกไหลลงสู่ทะเลทั่วโลกปีละ 8 ล้านตัน และกว่า 80% มาจากกิจกรรมบนบกของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นขยะในชีวิตประจำวันอย่าง ถุงพลาสติก หลอด แก้ว แพคเกจจิ้งพลาสติก ขยะขวดอุปกรณ์ทำความสะอาด ขยะเศษผ้าจากเสื้อผ้า ขยะยางล้อรถ หรือขยะตามไซต์ก่อสร้าง และขยะที่ใช้ในการเกษตร เมื่อมีการทิ้งไม่ถูกที่ จำแนกขยะไม่ถูกทาง
สอดคล้องกับข้อมูลของกรมทรัพยาทางทะเลและชายฝั่ง เมื่อปี 2563 ที่เคยระบุว่า องค์ประกอบของขยะทะเลที่พบ 5 อันดับแรกของทะเลไทย ได้แก่ ขวดพลาสติกเครื่องดื่ม 22% ถุงพลาสติก 19.42% ขวดเเก้ว 10.96% ห่อ/ถุงขนม 7.97% เศษโฟม 7.55%
สะท้อนให้เห็นว่า “ปัญหาของขยะพลาสติกไม่ใช่เรื่องเล็กๆ” แม้เราจะบอกว่าในชีวิตประจำวัน เรามีการระมัดระวัง ทิ้งอย่างถูกวิธี กำจัดอย่างถูกทาง แต่ก็ยังปฏิเสธไม่ได้ว่าเราอาจสร้างขยะพลาสติกลงสู่ทะเลได้โดยไม่รู้ตัว เพราะมัน “ใช้ง่ายและสะดวก” จนเราอาจลืมไปโดยไม่ทันตั้งตัว
ดังนั้นจะเป็นการดีกว่าไหม? หากเราจะลด ละ เลิก ใช้สินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจาก “พลาสติก” และหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทน
ดังเช่นที่ Ira (ไอรา) กำลังทำอยู่ในขณะนี้ ซึ่งนอกจากจะมุ่งมั่นค้นคว้าหาส่วนผสมธรรมชาติจากทั่วโลกอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังใส่ใจถึงบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิตกล่อง ที่ปราศจากการเคลือบพลาสติกไปถึงตัวบรรจุภัณฑ์ของลิปบาล์มที่สามารถย่อยสลายคืนสู่ธรรมชาติได้ 100% อย่างรุ่น “ECO PAPER LIP BALM TUBE”
ลิปแบบแท่งกระดาษดียังไง ? และทำไมถึงเลือกใช้
โดยบรรจุภัณฑ์แบบแท่งนี้ เรียกว่า "Eco Tube" ซึ่งเป็นแท่งที่ผลิตมาจากกระดาษทั้งหมด โดยไม่มีส่วนประกอบมาจากพลาสติก ในส่วนวิธีใช้บรรจุภัณฑ์ในลักษณะแบบแท่งลิปบาล์มนี้จะแตกต่างจากลิปบาล์มแบบแท่งพลาสติกทั่วไปที่เคยเห็นกันเพราะแบบแท่งพลาสติกทั่วๆ ไปจะต้องใช้การหมุนจำเป็นจะต้องมีส่วนประกอบของพลาสติกมาเกี่ยวข้อง
ไอราจึงเลือกใช้แท่งลิปบาล์มชนิดที่เรียกว่า "Push Up Lip Balm" คือใช้การดันจากฐานล่างของแท่งนั่นเอง ซึ่งมีความสะดวกสามารถใช้ได้แม้ในยามเร่งด่วน เนื่องด้วยเพียงใช้นิ้วดันเพียงเล็กน้อย เนื้อบาล์มจะขึ้นมาให้ใช้ได้อย่างสะดวกสบาย ทนความเปียกชื้นได้ดี ด้วยเหตุนี้เองจากข้อมูลและคุณสมบัติที่ได้กล่าวมา ทำให้ Eco Tube นี้มีต้นทุนที่สูงกว่าแบบแท่งพลาสติกธรรมดาหรือแบบตลับมากกว่า 1 เท่าตัว อีกทั้งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
แต่ด้วยไอรา มุ่งมั่น พัฒนาและเล็งเห็นถึงคุณประโยชน์อย่างยิ่งหลายด้านในระยะยาว ทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงมองข้าม “ต้นทุน” ทางธุรกิจ แต่เลือกที่จะให้มูลค่ากับโลกมากกว่า ซึ่งเปรียบเสมือนการจ่ายเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อโลกและสังคมของเราที่ดีขึ้นนั่นเอง
จึงอาจกล่าวได้ว่า “ไอรา” ถือเป็นแบรนด์แรกในประเทศไทยที่ริเริ่มการใช้ผลิตภัณฑ์แท่งกระดาษเช่นนี้ ก็คงไม่ผิดเพี้ยน เพราะด้วยความเชื่อที่ว่า “เราจะสร้างสิ่งที่ดีคืนสู่ธรรมชาติให้มากเท่ากับธรรมชาติให้กับเรา” ปัจจุบันไอรายังคงมุ่งมั่นเพื่อพัฒนากล่องบรรจุภัณฑ์ต่อไปเพื่อจะทำให้ปราศจากพลาสติก 100% และสกินแคร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และผิวแพ้ง่ายของผู้บริโภคเช่นเดิม ดังนั้นการที่โลกจะ Eco ได้ต้องเริ่มที่ตัวเรา และเมื่อรักษ์โลกแล้ว ต้องรักผิวด้วยเช่นกัน
REFERENCES: sdgmove , BCG
3 Jun 2024
20 Jun 2024
15 Jul 2024
4 Jul 2024